วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การเพาะปลูกคะน้า
การเพาะปลูกคะน้า
การเตรียมแปลงปลูก หรือในกระถาง
1. ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก
โดยใช้จอบขุดย่อยหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยหมัก
หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง
2. ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง
โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การปลูกวิธีปลูกผักกาดหอม
การปลูกวิธีปลูกผักกาดหอม
การเตรียมดิน
ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด
แต่ได้ผลดีที่สุดในดินร่วน เพราะมีการระบายน้ำและอากาศดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
ของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มีความชื้นในดินพอสมควร ชอบแดดจัด แปลงปลูกควรมีแสงเต็มที่ตลอดทั้งวัน
ผักกาดหอมใบชอบอุณหภูมิประมาณ 21-26 องศาเซลเซียส ส่วนผักกาดหอมห่อหัวจะชอบอุณหภูมิประมาณ
15.5-21 องศาเซลเซียส
วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เพาะเมล็ดทานตะวันงอกไว้กินเอง
เพาะเมล็ดทานตะวันงอกไว้กินเอง
อุปกรณ์ที่ในการเพาะเมล็ดทานตะวัน
1. เมล็ดทานตะวันสีดำ ( black
oil sunflower seeds ) สีดำ ๆ ที่ร้านขายอาหารนกหรือร้านอาหารสัตว์นั่นแหล่ะ
เอาพันธุ์สีดำถ้าพันธุ์เมล็ดสีลาย ๆ ขาวดำไม่เอานะ เพราะอัตราการงอกมันน้อย มันงอกยาก
2. ถาดหรือกระบะทึบแสง 2 อัน
3. ดิน
4. สเปรย์ฉีดน้ำเปล่า
วิธีเพาะเมล็ดทานตะวันงอก
แช่เมล็ดทานตะวันในน้ำไว้หนึ่งคืน ใช้เมล็ดสักครึ่งถ้วย-หนึ่งถ้วยก็พอ
เตรียมถาด 2 ใบ ไม่ต้องเจาะรูระบายน้ำหรือถ้ามีรูก็ไม่เป็นไร, ใส่ดินลงไปสูงครึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้ว
สเปรย์น้ำให้ทั่วดินพอชุ่มๆห้ามแฉะมาก
โรยเมล็ดทานตะวันที่แช่น้ำแล้วกระจายให้ทั่วในกระบะ, สเปรย์น้ำอีกครั้งให้ทั่วแล้วใช้กระบะอีกใบคว่ำปิดทับด้านบน
เปิดรดน้ำด้วยสเปรย์วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังรดน้ำแล้วปิดกระบะไว้เช่นเดิมเพื่อเก็บความชื้นเมล็ดจะได้งอกไว ๆ
ค่อย ๆ มีรากโผล่ออกมาให้เห็น มีขนสีขาวๆที่รากเต็มไปหมด
สักสามสี่วันจะสูงประมาณ 1
นิ้ว
เริ่มผลิใบ 1 คู่ ให้หงายกระบะวางทับไว้ด้านบน บังคับให้ต้นทานตะวันงอกในระดับเดียวกัน,
สเปรย์รดน้ำเช้า-เย็น แล้วก็วางกระบะทับไว้ด้านบนเช่นเดิม 2-3
วัน
ตอนนี้ลำต้นสูงประมาณ 2- 3 นิ้ว เอากระบะที่วางทับไว้ออกได้ จะเห็นใบมีสีเหลืองเนื่องจากไม่โดนแสง
เอาวางถาดไว้ในที่ร่มห้ามโดนแสงแดด
ไม่กี่ชั่วโมงใบทานตะวันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว, สเปรย์รดน้ำเช้า-เย็น
วันที่ 7-11 สามารถเก็บเกี่ยวมากินได้ตามความชอบ
(ถ้าปล่อยไว้นานจะเริ่มมีใบเลี้ยงคู่ที่สองออกมา
รสชาติจะไม่ค่อยอร่อย)
จวนจะได้เวลากินแหล่ววววว...เหอๆๆ
เวลาตัดรากก็ใช้กรรไกรตัด รวบมาเป็นกำๆ แล้วก็ตัดงับๆๆๆ ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งสะเด็ดน้ำ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นนะ
วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ดอกกุหลาบ
เกร็ด!!ความรู้ของ "ดอกกุหลาบ"
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์
ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง
1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น
ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา
วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ดอกดาวเรือง
ดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes spp.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : Marigolds
ชื่ออื่นๆ : ดาวเรือง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศเม็กซิโก, อเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ปักชำยอด
วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประวัติศาสตร์ข้าวไทย
ประวัติศาสตร์ข้าวไทย
ข้าว ของไทยเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีตำนานประวัติศาสตร์มายาว นานปรากฏ
เป็นร่องรอยพร้อมกับอารยธรรมไทยมาไม่น้อยกว่า 5,500 ปี
ซึ่งมีหลักฐานจากแกลบข้าวที่เป็นส่วนผสมของดินใช้เครื่องปั้นดินเผาที่บ้าน เชียง
อำเภอโนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง อันสันนิษฐานได้ว่าเป็น
เมล็ดข้าวที่เก่แก่ที่สุดของไทยรวมทั้งยังพบหลักฐานเมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำ ปุงฮุง
จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยแกลบข้าวที่พบนี้มีลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ด
ใหญ่ที่เจริญงอกงามในที่สูง
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ปลูกต้นไม้อย่างไรให้เป็นประโยชน์
ปลูกต้นไม้อย่างไรให้เป็นประโยชน์
เราทุกคนคงรักการปลูกต้นไม้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
เพราะในทุกๆวันนี้ชีวิตของเรานั้นห่างออกจากธรรมชาติมากขึ้นไปทุกๆทีสืบเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
เทคโนโลยี และ อุตสาหกรรม
ดังนั้นการได้สัมผัสกับธรรมชาติโดยการปลูกต้นไม้ให้เยอะนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเราทุกคน
อย่างไรก็ตามหากเราต้องการจะได้ประโยชน์จากการปลูกต้นไม้นั้นก็ควรจะรู้วีธีการที่จะทำให้เราได้ประโยชน์ในด้านอื่นๆด้วยเช่นเดียวกัน
โดยผมจะขอเน้นถึงประโยชน์ในทางฮวงจุ้ยและทางสถาปัตยกรรมไปพร้อมๆกันนะครับ
โดยจะไม่เน้นถึงความหมายตามความเชื่อของต้นไม้มงคลต่างๆนะครับ
เพราะเรื่องความหมายมงคลนั้นจะขึ้นอยู่กับความเชื่อและความสบายใจของแต่ละท่าน
1. การปลูกต้นไม้เพื่อดักกระแสลม ในข้อนี้ให้เราลองสังเกตว่าลมธรรมชาตินั้นพัดมาทางใด
หากพัดมาทางด้านซ้ายมือของบ้านให้เราปลูกแนวต้นไม้ทางด้านขวามือของบ้าน หรือ
หากลมธรรมชาตินั้นพัดมาทางด้านขวามือของบ้านให้เราปลูกต้นไม้ที่แนวซ้ายมือของบ้าน
เพื่อดักกระแสลมให้เข้าที่ประตูหน้าบ้านของเรา
หากท่านไม่สามารถรู้ได้ว่ากระแสลมพัดมาจากทิศทางใด
สามารถจุดธูปแล้วปักไว้หน้าบ้านเพื่อดูทิศทางการเคลื่อนตัวของควันธูปได้
นอกจากนั้นการปลูกแนวต้นไม้ที่ด้านหลังของบ้านสามารถใช้ในการกักเก็บกระแสอากาศหรือกระแสลมที่พัดเข้ามาทางหน้าบ้านได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นวิธีการที่นักภูมิสถาปนิก (Landscape Architect) นั้นใช้กันอยู่บ่อยๆ
ภาพแสดงการปลูกต้นไม้เพื่อดักกระแสลมให้พัดผ่านเข้าปากประตูบ้าน
2. การปลูกต้นไม้เพื่อปรับปรุงรูปทรงของที่ดิน ในกรณีที่ที่ดินของท่านมีรูปทรงที่เว้าแหว่งขาดหาย
หรือ เป็นที่ดินที่มีลักษณะเป็นชายธง
ซินแสจะแนะนำให้ปลูกต้นไม้เพื่อทำให้รูปทรงของที่ดินมีความสมดุลย์มากขึ้น
เพราะที่ดินที่มีลักษณะชายธงหรือเป็นมุมแหลมนั้นจะทำให้กระแสอากาศไหลเวียนภายในไม่สะดวกนั่นเอง
เราจึงปลูกต้นไม้เพื่อกั้นแนวมุมแหลมนั้นตัดให้เป็นมุมป้าน
ส่วนที่ดินที่มีการเว้าแหว่งขาดหายก็จะมีลักษณะที่ทำให้กระอากาศไหลเวียนในบริเวณที่ดินเราไม่สะดวกเช่นเดียวกัน
เราก็จะปลูกต้นไม้เพื่อปรับปรุงให้ที่ดินลดสภาพเว้าแหว่ง
ภาพแสดงการปลูกต้นไม้เพื่อปรับปรุงพื้นที่ที่ดินให้มีรูปทรงที่สวยงาม
และกระแสอากาศไหลเวียนได้สะดวก
3. การปลูกต้นไม้เพื่อปรับอุณหภูมิบ้านให้เย็นขึ้น ต้นไม้หรือไม้คลุมดินนั้นสามารถช่วยทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านเราเย็นขึ้นได้
โดยเฉพาะในเวลากลางวัน เนื่องจากจากกระบวนการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติของต้นไม้
เมื่อต้นไม้ได้ดูดน้ำจากใต้ผืนดินทางรากไม้จะมีการคายน้ำออกทางใบไม้
และหยดน้ำเหล่านี้เมื่อโดนความร้อนจะกลายเป็นไปน้ำระเหยคืนสู่อากาศ
โดยจะใช้พลังงานความร้อนในบริเวณใกล้เคียงในกระบวนการดังกล่าว
ดังนั้นหากเรามีต้นไม้ในสัดส่วนที่เหมาะสมจะช่วยในการปรับอุณหภูมิบ้านให้เย็นขึ้นได้
และแนวกิ่ง ก้าน ใบ
ของต้นไม้ยังสามารถลดความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันได้อีกด้วย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราปลูกต้นไม้มากเกินไปหรือไม่? ท่านควรปลูกต้นไม้ใหญ่
เฉพาะจุดที่ต้องการร่มเงาเท่านั้น เช่น
ข้างห้องที่อยู่ทางทิศใต้ที่ต้องรับแดดทั้งวัน หรือ
ทิศตะวันตกที่ต้องรับแดดจัดในช่วงบ่าย
เนื่องจากหากปลูกต้นไม้ในปริมาณที่มากเกินไปแม้จะช่วยลดความร้อนในเวลากลางวันได้
แต่ต้นไม้เองก็จะเป็นตัวกันไม่ให้อากาศร้อนลอยขึ้นสูงไปได้ในเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน
เป็นผลให้ในเวลากลางคืนพื้นที่ใต้ต้นไม้กลับทั้งร้อนและชื้นกว่าที่อื่นๆ
โดยต้องคำนึงถึงด้วยว่า
ต้องไม่ปลูกต้นไม้บังประตูหน้าบ้านจนทึบ ทำให้กระแสลมไม่สามารถเข้าบ้านได้ หรือ
ติดกับตัวบ้านมากเกินไปทำให้เป็นที่มาของความเสียหายของบ้านเนื่องจากการชอนไชของรากไม้ใหญ่ได้
ภาพแสดงการปลูกต้นไม้เพื่อช่วยปรับอุณหภูมิให้บ้านเย็นขึ้นฃ
อย่างไรก็ตามหากต้องการให้การปลูกต้นไม้ได้ผลดีในเชิงฮวงจุ้ยมากที่สุดจำเป็นต้องคำนึงถึงศาสตร์ฮวงจุ้ยด้านองศาทิศทาง (Compass Feng Shui
Theory) ด้วยเช่นเดียวกัน
เพราะต้นไม่นั้นหากวางในทิศทางที่ถูกต้องตามหลักการของฮวงจุ้ยในระบบดาวเหิน (Xuan
Kong Flying Star) ซึ่งเป็นระบบที่ซินแสชั้นนำในประเทศฮ่องกง
สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมทั้งประเทศไทยใช้นั้น สามารถนำมาได้ซึ่ง
บารมีของสมาชิกในบ้าน ความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกบ้าน
รวมไปถึงความก้าวหน้าทางวิชาการด้วยเช่นเดียวกัน
Cr : http://www.modernfs.com/tree.htm
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ต้นไม้มงคล ที่คนนิยมปลูกไว้ในบ้าน
"15 ต้นไม้มงคล ที่คนนิยมปลูกไว้ในบ้าน"
ต้นมะยม
มะยม เชื่อกันว่า
การปลูกต้นมะยมจะทำให้คนนิยมชมชอบ รักใคร่ มีชื่อเสียง ไม่มีคนคิดร้าย
หรือเป็นศัตรูนั่นเอง ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งก็บอกว่า
หากปลูกต้นมะยมไว้ทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ปลูกถั่วลิสงหลังนา รายได้เสริมหลังฤดูทำนา
ปลูกถั่วลิสงหลังนา
รายได้เสริมหลังฤดูทำนา
ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์มากมายอีกทั้งยังเป็นพืชบำรุงดิน
และสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย
สำหรับเกษตรกรที่ทำนาสามารถปลูกถั่วลิสงในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวได้
ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานและไม่อาศัยน้ำชลประทาน
แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานสามารถทำได้ในบางพื้นที่เท่านั้น
การปลูกและการบำรุงรักษาพืชตามฤดูกาล
การปลูกและการบำรุงรักษาพืชตามฤดูกาล
การปลูกพืชตามฤดูกาล
หมายถึง
การปลูกพืชในช่วงที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด พืชจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าอุณหภูมิของอากาศเหมาะสม สภาพดี
การถ่ายเทอากาศ น้ำ และแสงสว่างดี
สภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน เช่น ฤดูหนาว
พืชหลายชนิดจะเจริญเติบโตได้ดี
แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง เช่น กะหล่ำดอก
กะหล่ำปี คะน้า ผักกาดขาว
ผักกาดหอม กระเทียม และมะเขือเทศ
เป็นต้น
ส่วนพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูร้อน
เช่น แตงกวา แตงโม
บวบ ฟัก และข้าวโพด เป็นต้น และพืชที่สามารถเติบโตได้ดีทุกฤดูกาล เช่น
มะเขือ พริก ผักบุ้ง ตะไคร้ และโหระพา
เป็นต้น
การจำแนกพันธุ์ผักตามฤดูปลูก สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
พันธุ์หนัก
หรือพันธุ์ทนหนาว คือ พันธุ์ที่ปลูกได้ผลผลิตดีในฤดูหนาว อายุเก็บเกี่ยวนาน
และผลผลิตสูง
พันธุ์เบา
หรือพันธุ์ทนร้อน ทนฝน คือ
พันธุ์ที่ปลูกได้ผลผลิตดีในฤดูร้อน และฤดูฝน อายุเก็บเกี่ยวสั้น
และผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์หนัก
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น
สามารถปลูกผักตระกูลแตง มะเขือ และถั่วได้ตลอดปี และทุกภาคของประเทศ ส่วนผักตระกูลกะหล่ำ(ยกเว้น
คะน้า และกวางตุ้ง ซึ่งสามารถปลูกได้ตลอดปี)
การปลูกพันธุ์เบา หรือพันธุ์ทนร้อนในฤดูร้อน และฤดูฝน มีการห่อหัวและให้ผลผลิตสูง ส่วนในฤดูหนาวควรเลือกใช้พันธุ์หนัก
หรือพันธุ์สำหรับฤดูหนาว
ซึ่งโดยทั่วไปมักให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เบา เนื่องจากพันธุ์หนักมี อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่า
แผนการปลูกผักที่เหมาะสม ตลอดทั้งปีสามารถพิจารณาได้จากตาราง
ฤดูปลูกที่เหมาะสม
|
ประเภทของผัก
|
ตลอดปี
|
กวางตุ้ง คะน้า ผักตระกูลแตง ผักตระกูลถั่ว ผักตระกูลมะเขือ หอมแดง
หอมแบ่ง ผักตระกูลอื่นๆ
|
ฤดูหนาว
|
ผักตระกูลกะหล่ำ แตงเทศ ถั่วลันเตา พริกยักษ์ กระเทียม หอมหัวใหญ่
|
ฤดูร้อน, ฤดูฝน
|
ผักตระกูลแตง ผักตระกูลถั่ว และพันธุ์ทนร้อน ทนฝน
|
วิธีปลูกพืชตามฤดูกาลนั้นมี 2 วิธี คือ
การปลูกโดยใช้เมล็ดพืช
การปลูกโดยใช้ต้นกล้า ต้องนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้าก่อน
แล้วจึงนำต้นกล้าไปปลูก
การปลูกพืชชนิดต่างๆ
1. กะหล่ำปลี
กะหล่ำปีเป็นพืชที่มีใบห่อแน่น
รับประทานดิบจะได้รสชาติหวานกรอบ
หรือนำไปประกอบอาหารสุกก็ได้
ทั้งยังเก็บได้นานอีกด้วย
พันธุ์ที่ปลูก แบ่งได้เป็น 3
พันธุ์ คือ
พันธุ์เบา มีอายุ
60 – 70 วัน ลักษณะเป็นปลีกลม ไม่ชอบอากาศหนาวเหมาะจะปลูกในเมืองไทย
พันธุ์กลาง มีอายุ 80 – 90 วัน ลักษณะเป็นปลีกลมแบบ ชอบอากาศหนาว
พันธุ์หนัก มีอายุ 90 – 120 วัน
ลักษณะเป็นปลีกลมแบน หัวใหญ่ มีน้ำหนักมาก
ชอบอากาศหนาวเย็น
สภาพดิน ฟ้า
อากาศ
กะหล่ำปลีชอบดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย อากาศค่อนข้างหนาวหรือหนาวเย็น ฤดูหนาวจึงเหมาะจะปลูกกะหล่ำปลี ซึ่งแบ่งเป็นระยะการปลูกได้ 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เพาะเมล็ดเดือนกันยายน ปลูกเดือนตุลาคม
ระยะที่ 2 เพาะเมล็ดเดือนตุลาคม ปลูกเดือนพฤศจิกายน
ระยะที่ 3 เพาะเมล็ดเดือนพฤศจิกายน ปลูกเดือนธันวาคม
การเตรียมดิน ดินที่จะปลูกอาจมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น
ดินเหนียว ดินร่วน
และดินทราย
การเตรียมดินต้องให้เหมาะสม เช่น
ดินเหนียว ควรเตรียมดินไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 ฤดูปลูก
โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูฝนด้วยการไถดินแล้วใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
เศษหญ้า ขี้เลื่อย และปูนขาวทิ้งไว้ตลอดฤดูวัสดุจะเน่าเปื่อยผุพัง จะช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้นเหมาะในการเพาะปลูก
ดินร่วน ควรดายหญ้า
ปรับดิน ขุดดินลึกประมาณ 25-30
เซนติเมตร ตากแดดไว้ประมาณ 2
สัปดาห์ เพื่อกำจัดแมลง วัชพืช และโรคต่างๆ เมื่อดินแห้ง จึงย่อยดินใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 1 – 2 ปี๊บ สำหรับแปลงกว้าง 1 เมตร 4
เมตร
ดินทราย กระทำเช่นเดียวกันกับการเตรียมดินเหนียว แต่เพิ่มจำนวนปูนขาวให้มากขึ้นอีก เพื่อกระตุ้นให้แบคทีเรียทำงานได้ดีขึ้น
ในการเตรียมดิน
ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวในขณะเตรียมดิน
ถ้าดินเป็นด่างควรไขน้ำเข้าแปลงขังไว้จากนั้นจึงปล่อยออก แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเข้าช่วย
สภาพของดินจะดีขึ้น
การปลูก
กะหล่ำปลี
เป็นผักที่มีรสชาติอร่อยรับประทานได้ทั้งดิบและสุก เป็นผักที่เก็บไว้ได้หลายวัน
กะหล่ำปลีชอบอากาศหนาวเย็น
ปลูกมากในภาคเหนือของประเทศไทย
1. วิธีปลูก กะหล่ำปลีมีขั้นตอน ดังนี้
1.1
นำเมล็ดมาเพาะในถุงพลาสติก หรือกระถางจนเป็นต้นกล้า แล้วจึงย้ายไปปลูกโดยทำหลุมเตรียมไว้ก่อน ปลูกให้ห่างกันดังนี้ ถ้าเป็นพันธุ์เบาปลูกในห่างกันต้นละ 45
– 60 เซนติเมตร
พันธุ์กลางและพันธุ์หนัก ปลูกให้ห่างกันต้นละ 60 – 80
เซนติเมตร
1.2 เด็ดใบต้นกล้าออกบ้าง
เพื่อลดการคลายน้ำให้ลดลง
1.3
วางต้นกล้าลงในหลุม แล้วกดบริเวณโคนต้นให้แน่น
1.4
รดน้ำให้ชุ่มหลังจากปลูกเสร็จแล้ว
1.5
ทำร่มบังแดดให้
2. การบำรุงรักษา
2.1 การรดน้ำ ควรรดในเวลาเช้า – เย็น
เมื่อโตแล้วจึงลดการให้น้ำลง เวลารดน้ำระวังอย่าให้น้ำเข้าไปในปลีของกะหล่ำปลี
เพราะจะทำให้ปลีแตกได้
2.2 การพรวนดิน ควรทำเมื่อเห็นว่าดินแน่น และมีวัชพืชขึ้นมาก ก่อนพรวนดินหยุดรดน้ำ 1 วัน เวลาพรวนดินต้องระวังอย่าให้ถูกราก
และเมื่อพรวนดินเสร็จต้องรดน้ำให้ทั่ว
2.3 การให้ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วให้ปุ๋ย โดยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
- ระยะตั้งตัว ใส่ปุ๋ยเร่งใบ
เช่น ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1
ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ
ละลายให้เข้ากันแล้วรดให้ทั่วโคนต้น
- ระยะเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยผสมสูตร 8-8-8 ประมาณ 1
ช้อนชาต่อหนึ่งต้นใส่ให้ห่างจากโคนต้นเล็กน้อย
แล้วกลบดิน รดน้ำให้ทั่ว
- ระยะให้ผล ใส่ปุ๋ยผสมสูตร 8-8-8
กระทำเหมือนระยะเจริญเติบโต
2.4 การกำจัดวัชพืช แมลงและศัตรูพืช ควรหมั่นถอนวัชพืชทิ้ง
ถ้ามีแมลงและศัตรูพืชมารบกวน
อาจคอยจับทำลายและใช้ยาฆ่าแมลงซึ่งก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำให้เข้าใจและปฏิบัติตาม
มิฉะนั้นอาจเกิดโทษได้
2.5 ป้องกันโรคพืชได้ โรคที่เกิดกับกะหล่ำปลีที่เกิดจากเชื้อรา เช่น
โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด ป้องกันได้โดยไม่รดน้ำให้แฉะ ให้แปลงได้ถูกแสงแดด ถ้าเป็นมากใช้ยาฉีด
3. การเก็บผลผลิต เลือกเก็บเฉพาะต้นที่มีปลีแน่น เวลาตัดอย่าให้มีน้ำขังอยู่ในหัวกะหล่ำปลี และควรเก็บในเวลาเย็น
ถั่วลันเตา
ถั่วลันเตาเป็นผักที่มีวิตามินสูง
นำไปผัดจะหวานกรอบรสชาติอร่อย
ราคาดีชอบอากาศหนาวเย็น
ปลูกได้ทางภาคเหนือและบางจังหวัด เช่น ราชบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น
1. วิธีปลูกถั่วลันเตา
1.
เตรียมดินโดยยกแปลงสูงประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ความยาวตามต้องการ ขุดหลุมห่างกันประมาณหลุมละ 15 – 20 เซนติเมตร
2.
นำเมล็ดถั่วลันเตามาแช่น้ำ 1 คืน
จึงนำไปหยอดลงหลุม หลุมละประมาณ 2
เมล็ด กลบดินแล้วรดน้ำ ฉีดยาบางๆ
พ่นบนปากหลุม
เพื่อป้องกันแมลงมากินเมล็ดพืช
2. การบำรุงรักษา
1. การรดน้ำ รดแต่พอควร อย่าให้น้ำขังแฉะ
2. การใส่ปุ๋ย
เมื่อต้นถั่วลันเตางอกได้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1
ปี๊บ อีก 7 วันจึงใส่ปุ๋ยคอก โรยระหว่างแถวแล้วพรวนดินกลบ ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ
2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
และเมื่อต้นถั่วอายุได้ 4 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-30-15 ผสมน้ำฉีดใบทุก 7
วัน
3. กำจัดวัชพืช ควรดูแลถอนทิ้งให้หมด
และถ้ามีแมลง หนอน ใช้ยาพาราไธออน มาลาไธออน ฉีดทุก 10 วัน
การกำจัดโรคพืช โรคราแป้ง
ใช้ยากันราฉีดพ่นทุก 10 วัน
โรคต้นเหลืองตาย
อาจเกิดจากมีน้ำขังทำให้รากผุเปื่อย
พยายามอย่าให้น้ำขังแฉะในแปลง
วิธีแก้ไขใช้ยากันรา ผสมน้ำราดลงไปในดิน
3. การเก็บผลผลิต เมื่อปลูกได้ประมาณ 60 วัน
ถั่วลันเตาจะโตเต็มที่
การเก็บฝักถั่วลันเตา
ควรเก็บในขณะที่ฝักถั่วยังเขียวสด และแน่นกรอบ ถ้าเก็บฝักที่อ่อนเกินไป
จะมีน้ำหนักน้อยและพองได้ง่าย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gotoknow.org/posts/368046
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พืชนอกกระแส น่าปลูกปี 2558 ปลูกอะไรได้ราคาดี?
พืชนอกกระแส น่าปลูกปี 2558 ปลูกอะไรได้ราคาดี?
สำหรับคนปลูกพืชแล้ว
หากถามว่าพืชอะไรที่นิยมปลูกกันมาก คงไม่พ้น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย
และนาข้าว แต่..
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วิธีปลูกถั่วดาวอินคา
วิธีปลูกและสถานที่ปลูก
-ปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย
-ต้องปลูกโดยระบบเกษตรอินทรีย์
(ไม่ใช้สารเคมี)
-ต้นมีอายุยืนยาวตั้งแต่
15-50 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแล
-ระยะห่างระหว่างต้น
2 x 2 เมตร 1 ไร่ประมาณ 250 - 300 ต้น
-ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต
ประมาณ 10-12 เดือน นับจากลงกล้าปลูก (ให้ผลตอบแทนสูงมาก,ดูแลง่าย)
-ราคาต้นกล้า
40 บาทต่อต้น ,
เมล็ดพันธุ์ ราคา 10 บาทต่อเมล็ด
-ราคารับซื้อ
ดอกหรือฝักแก่ 30 บาทต่อกิโลกรัม
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน สรุป ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
- ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ
- ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
- การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
- การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
cr. http://goo.gl/mIFZJQ
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)