วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การปลูกและการบำรุงรักษาพืชตามฤดูกาล

การปลูกและการบำรุงรักษาพืชตามฤดูกาล

         การปลูกพืชตามฤดูกาล หมายถึง การปลูกพืชในช่วงที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด  พืชจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  ถ้าอุณหภูมิของอากาศเหมาะสม สภาพดี การถ่ายเทอากาศ น้ำ และแสงสว่างดี
         สภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน  เช่น ฤดูหนาว  พืชหลายชนิดจะเจริญเติบโตได้ดี  แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง  เช่น  กะหล่ำดอก  กะหล่ำปี  คะน้า  ผักกาดขาว  ผักกาดหอม  กระเทียม  และมะเขือเทศ  เป็นต้น  ส่วนพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูร้อน  เช่น  แตงกวา  แตงโม  บวบ  ฟัก และข้าวโพด เป็นต้น  และพืชที่สามารถเติบโตได้ดีทุกฤดูกาล เช่น มะเขือ พริก ผักบุ้ง ตะไคร้ และโหระพา  เป็นต้น



       การจำแนกพันธุ์ผักตามฤดูปลูก   สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

    พันธุ์หนัก หรือพันธุ์ทนหนาว คือ พันธุ์ที่ปลูกได้ผลผลิตดีในฤดูหนาว อายุเก็บเกี่ยวนาน และผลผลิตสูง
    พันธุ์เบา หรือพันธุ์ทนร้อน  ทนฝน คือ พันธุ์ที่ปลูกได้ผลผลิตดีในฤดูร้อน และฤดูฝน อายุเก็บเกี่ยวสั้น และผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์หนัก

              ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น  สามารถปลูกผักตระกูลแตง มะเขือ และถั่วได้ตลอดปี  และทุกภาคของประเทศ ส่วนผักตระกูลกะหล่ำ(ยกเว้น คะน้า และกวางตุ้ง ซึ่งสามารถปลูกได้ตลอดปี)  การปลูกพันธุ์เบา หรือพันธุ์ทนร้อนในฤดูร้อน และฤดูฝน  มีการห่อหัวและให้ผลผลิตสูง  ส่วนในฤดูหนาวควรเลือกใช้พันธุ์หนัก หรือพันธุ์สำหรับฤดูหนาว  ซึ่งโดยทั่วไปมักให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เบา  เนื่องจากพันธุ์หนักมี อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่า แผนการปลูกผักที่เหมาะสม ตลอดทั้งปีสามารถพิจารณาได้จากตาราง

ฤดูปลูกที่เหมาะสม
ประเภทของผัก
ตลอดปี

กวางตุ้ง คะน้า ผักตระกูลแตง ผักตระกูลถั่ว ผักตระกูลมะเขือ หอมแดง หอมแบ่ง ผักตระกูลอื่นๆ
ฤดูหนาว
ผักตระกูลกะหล่ำ แตงเทศ ถั่วลันเตา พริกยักษ์ กระเทียม หอมหัวใหญ่
ฤดูร้อน, ฤดูฝน
ผักตระกูลแตง ผักตระกูลถั่ว และพันธุ์ทนร้อน ทนฝน



วิธีปลูกพืชตามฤดูกาลนั้นมี 2 วิธี คือ

    การปลูกโดยใช้เมล็ดพืช
    การปลูกโดยใช้ต้นกล้า  ต้องนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้าก่อน แล้วจึงนำต้นกล้าไปปลูก

        การปลูกพืชชนิดต่างๆ
               1.    กะหล่ำปลี   กะหล่ำปีเป็นพืชที่มีใบห่อแน่น  รับประทานดิบจะได้รสชาติหวานกรอบ    หรือนำไปประกอบอาหารสุกก็ได้   ทั้งยังเก็บได้นานอีกด้วย
                                                                          


                      พันธุ์ที่ปลูก   แบ่งได้เป็น 3 พันธุ์ คือ
    พันธุ์เบา  มีอายุ  6070 วัน  ลักษณะเป็นปลีกลม  ไม่ชอบอากาศหนาวเหมาะจะปลูกในเมืองไทย
    พันธุ์กลาง  มีอายุ 8090 วัน  ลักษณะเป็นปลีกลมแบบ ชอบอากาศหนาว
    พันธุ์หนัก  มีอายุ 90120 วัน ลักษณะเป็นปลีกลมแบน  หัวใหญ่  มีน้ำหนักมาก  ชอบอากาศหนาวเย็น

            สภาพดิน  ฟ้า   อากาศ
     กะหล่ำปลีชอบดินร่วน  ดินร่วนปนดินเหนียว  หรือดินร่วนปนทราย  อากาศค่อนข้างหนาวหรือหนาวเย็น  ฤดูหนาวจึงเหมาะจะปลูกกะหล่ำปลี  ซึ่งแบ่งเป็นระยะการปลูกได้ 3 ระยะ คือ
     ระยะที่ 1  เพาะเมล็ดเดือนกันยายน     ปลูกเดือนตุลาคม
     ระยะที่ 2  เพาะเมล็ดเดือนตุลาคม       ปลูกเดือนพฤศจิกายน
     ระยะที่ 3  เพาะเมล็ดเดือนพฤศจิกายน  ปลูกเดือนธันวาคม

     การเตรียมดิน  ดินที่จะปลูกอาจมีลักษณะแตกต่างกัน  เช่น
      ดินเหนียว  ดินร่วน  และดินทราย  การเตรียมดินต้องให้เหมาะสม  เช่น
               ดินเหนียว  ควรเตรียมดินไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 ฤดูปลูก  โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูฝนด้วยการไถดินแล้วใส่ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  เศษหญ้า  ขี้เลื่อย  และปูนขาวทิ้งไว้ตลอดฤดูวัสดุจะเน่าเปื่อยผุพัง  จะช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้นเหมาะในการเพาะปลูก
               ดินร่วน   ควรดายหญ้า  ปรับดิน  ขุดดินลึกประมาณ  25-30  เซนติเมตร   ตากแดดไว้ประมาณ 2 สัปดาห์  เพื่อกำจัดแมลง  วัชพืช และโรคต่างๆ เมื่อดินแห้ง  จึงย่อยดินใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 12 ปี๊บ สำหรับแปลงกว้าง 1 เมตร  4 เมตร
               ดินทราย  กระทำเช่นเดียวกันกับการเตรียมดินเหนียว  แต่เพิ่มจำนวนปูนขาวให้มากขึ้นอีก  เพื่อกระตุ้นให้แบคทีเรียทำงานได้ดีขึ้น
               ในการเตรียมดิน  ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวในขณะเตรียมดิน  ถ้าดินเป็นด่างควรไขน้ำเข้าแปลงขังไว้จากนั้นจึงปล่อยออก  แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเข้าช่วย สภาพของดินจะดีขึ้น

การปลูก
          กะหล่ำปลี  เป็นผักที่มีรสชาติอร่อยรับประทานได้ทั้งดิบและสุก   เป็นผักที่เก็บไว้ได้หลายวัน กะหล่ำปลีชอบอากาศหนาวเย็น  ปลูกมากในภาคเหนือของประเทศไทย
    1.       วิธีปลูก กะหล่ำปลีมีขั้นตอน ดังนี้
                1.1 นำเมล็ดมาเพาะในถุงพลาสติก หรือกระถางจนเป็นต้นกล้า  แล้วจึงย้ายไปปลูกโดยทำหลุมเตรียมไว้ก่อน  ปลูกให้ห่างกันดังนี้   ถ้าเป็นพันธุ์เบาปลูกในห่างกันต้นละ 4560 เซนติเมตร  พันธุ์กลางและพันธุ์หนัก ปลูกให้ห่างกันต้นละ 6080 เซนติเมตร
                 1.2 เด็ดใบต้นกล้าออกบ้าง เพื่อลดการคลายน้ำให้ลดลง
                1.3 วางต้นกล้าลงในหลุม แล้วกดบริเวณโคนต้นให้แน่น
                1.4 รดน้ำให้ชุ่มหลังจากปลูกเสร็จแล้ว
                1.5 ทำร่มบังแดดให้

    2.  การบำรุงรักษา
                2.1   การรดน้ำ  ควรรดในเวลาเช้า เย็น เมื่อโตแล้วจึงลดการให้น้ำลง เวลารดน้ำระวังอย่าให้น้ำเข้าไปในปลีของกะหล่ำปลี เพราะจะทำให้ปลีแตกได้
                2.2   การพรวนดิน  ควรทำเมื่อเห็นว่าดินแน่น  และมีวัชพืชขึ้นมาก  ก่อนพรวนดินหยุดรดน้ำ 1 วัน  เวลาพรวนดินต้องระวังอย่าให้ถูกราก และเมื่อพรวนดินเสร็จต้องรดน้ำให้ทั่ว
                2.3   การให้ปุ๋ย  หลังจากปลูกแล้วให้ปุ๋ย  โดยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
                -          ระยะตั้งตัว  ใส่ปุ๋ยเร่งใบ  เช่น  ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ  ละลายให้เข้ากันแล้วรดให้ทั่วโคนต้น
                -          ระยะเจริญเติบโต  ใส่ปุ๋ยผสมสูตร 8-8-8  ประมาณ 1 ช้อนชาต่อหนึ่งต้นใส่ให้ห่างจากโคนต้นเล็กน้อย  แล้วกลบดิน รดน้ำให้ทั่ว
                -          ระยะให้ผล ใส่ปุ๋ยผสมสูตร 8-8-8 กระทำเหมือนระยะเจริญเติบโต
2.4   การกำจัดวัชพืช  แมลงและศัตรูพืช  ควรหมั่นถอนวัชพืชทิ้ง ถ้ามีแมลงและศัตรูพืชมารบกวน อาจคอยจับทำลายและใช้ยาฆ่าแมลงซึ่งก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำให้เข้าใจและปฏิบัติตาม มิฉะนั้นอาจเกิดโทษได้
2.5   ป้องกันโรคพืชได้  โรคที่เกิดกับกะหล่ำปลีที่เกิดจากเชื้อรา  เช่น  โรคราน้ำค้าง  โรคใบจุด  ป้องกันได้โดยไม่รดน้ำให้แฉะ  ให้แปลงได้ถูกแสงแดด  ถ้าเป็นมากใช้ยาฉีด
                        3. การเก็บผลผลิต   เลือกเก็บเฉพาะต้นที่มีปลีแน่น  เวลาตัดอย่าให้มีน้ำขังอยู่ในหัวกะหล่ำปลี  และควรเก็บในเวลาเย็น


 ถั่วลันเตา

            ถั่วลันเตาเป็นผักที่มีวิตามินสูง  นำไปผัดจะหวานกรอบรสชาติอร่อย  ราคาดีชอบอากาศหนาวเย็น  ปลูกได้ทางภาคเหนือและบางจังหวัด เช่น ราชบุรี  กาญจนบุรี เป็นต้น



 1. วิธีปลูกถั่วลันเตา
                    1. เตรียมดินโดยยกแปลงสูงประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร  ความยาวตามต้องการ  ขุดหลุมห่างกันประมาณหลุมละ  1520 เซนติเมตร
                    2. นำเมล็ดถั่วลันเตามาแช่น้ำ 1 คืน  จึงนำไปหยอดลงหลุม  หลุมละประมาณ 2 เมล็ด กลบดินแล้วรดน้ำ  ฉีดยาบางๆ พ่นบนปากหลุม  เพื่อป้องกันแมลงมากินเมล็ดพืช

 2.  การบำรุงรักษา
                    1.  การรดน้ำ รดแต่พอควร  อย่าให้น้ำขังแฉะ
                    2.  การใส่ปุ๋ย  เมื่อต้นถั่วลันเตางอกได้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ  อีก 7 วันจึงใส่ปุ๋ยคอก  โรยระหว่างแถวแล้วพรวนดินกลบ ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร  และเมื่อต้นถั่วอายุได้ 4 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-30-15 ผสมน้ำฉีดใบทุก 7 วัน
                    3.  กำจัดวัชพืช ควรดูแลถอนทิ้งให้หมด และถ้ามีแมลง  หนอน  ใช้ยาพาราไธออน มาลาไธออน ฉีดทุก 10 วัน

    การกำจัดโรคพืช     โรคราแป้ง  ใช้ยากันราฉีดพ่นทุก 10 วัน   โรคต้นเหลืองตาย  อาจเกิดจากมีน้ำขังทำให้รากผุเปื่อย  พยายามอย่าให้น้ำขังแฉะในแปลง  วิธีแก้ไขใช้ยากันรา ผสมน้ำราดลงไปในดิน

 3. การเก็บผลผลิต  เมื่อปลูกได้ประมาณ 60 วัน ถั่วลันเตาจะโตเต็มที่  การเก็บฝักถั่วลันเตา  ควรเก็บในขณะที่ฝักถั่วยังเขียวสด และแน่นกรอบ ถ้าเก็บฝักที่อ่อนเกินไป จะมีน้ำหนักน้อยและพองได้ง่าย



ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gotoknow.org/posts/368046

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น